แหล่งพลังงานหมุนเวียนสำหรับโรงไฟฟ้า

เนื่องจากยุคปัจจุบันนี้หลายๆ คนก็คงจะเห็นใช่หรือไม่ว่าพลังงานที่ใช้แล้วมีแต่จะหมดสิ้นไป ได้ทำให้เกิดผลเสียหลายต่อหลายประการสำหรับโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการระหว่างการเผาผลาญพลังงานที่ได้สร้างมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้การที่หลายๆ คนเลือกซื้อรถยนต์แทนการโดยสารขนส่งสาธารณะ ก็ยิ่งทำให้เชื้อเพลิงหมดสิ้นลงไปทีละเล็กทีละน้อยอีกด้วย แหล่งพลังงานหมุนเวียนจึงกลายเป็นหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การใช้ไฟฟ้าสามารถสืบต่อไปได้อีกนานเท่านาน และแหล่งพลังงานหมุนเวียนสำหรับโรงไฟฟ้ามีอะไรบ้าง มาดูพร้อมๆ กัน  1.พลังงานแสงอาทิตย์   สำหรับพลังงานหมุนเวียนอย่างแรกในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมก็คือพลังงานแสงอาทิตย์โดยจะมีสารกึ่งตัวนำที่มีประจุบวกและลบ ทำงานร่วมกันเป็นสนามไฟฟ้า จากนั้นเวลาที่เซลล์ตกกระทบกับแสงอาทิตย์ สารกึ่งตัวนำก็จะมีการดูดแสงแล้วถ่ายเทพลังงานออกมาในรูปแบบของอิเล็กตรอนอีกด้วยนั่นเอง ซึ่งสุดท้ายแล้วยอิเล็กตรอนก็จะโดยตรวจจับ โดยสนามไฟฟ้า  2.พลังงานลม  สำหรับพลังงานลมเป็นใบพัดแบบมีดที่หมุนได้ จะเหมือนใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ และข้อดีของใบพัดกังหันลมสำหรับผลิตไฟฟ้าก็คือ สามารถติดตั้งได้ทั้งบนที่สูงและได้ทั้งบนบกอีกด้วย โดยเพื่อจับพลังงานจลที่เกิดจากลมและหลักการทำงานที่สำคัญก็คือเมื่อลมพัดผ่านใบมีด ความกดอากาศด้านหนึ่งของใบมีดก็จะทำให้แรงดึงใบพัดลดลงไปได้นั่นเอง อย่างไรก็ดีความกดอากาศอีกด้านหนึ่งที่แตกต่างกันก็จะทำให้ใบพัดหมุน แล้วไปหมุนที่โรเตอร์ที่เชื่อมกันเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้านั่นเอง  3.พลังงานน้ำ   สำหรับหลักการของพลังงานน้ำก็ไม่แตกต่างจากพลังงานลมเท่าใดนัก เนื่องจากว่าพลังงานน้ำจะส่งพลังงานจลน์จากการไหลของน้ำไปที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกังหันและผลิตเป็นกระแสไฟฟ้านั่นเอง […]